2554-03-16

วิธีการเปลี่ยนอาหารใหม่ให้ชูการ์ไกรเดอร์

การเปลี่ยนอาหารแบบทันทีทันใดส่วนมากเค้าจะไม่ค่อยกินค่ะ  มันจะต้องมีสูตรและเทคนิคกันหน่อย


วันที่ 1 — อาหารเดิม 90 เปอร์เซ็นต์ อาหารใหม่ 10 เปอร์เซ็นต์
วันที่ 2 — อาหารเดิม 80 เปอร์เซ็นต์ อาหารใหม่ 20 เปอร์เซ็นต์
วันที่ 3 — อาหารเดิม 70 เปอร์เซ็นต์ อาหารใหม่ 30 เปอร์เซ็นต์
วันที่ 4 — อาหารเดิม 50 เปอร์เซ็นต์ อาหารใหม่ 50 เปอร์เซ็นต์
วันที่ 5 — อาหารเดิม 25 เปอร์เซ็นต์ อาหารใหม่ 75 เปอร์เซ็นต์
วันที่ 6 — อาหารเดิม 10 เปอร์เซ็นต์ อาหารใหม่ 90 เปอร์เซ็นต์
วันที่ 7 — อาหารเดิม 0 เปอร์เซ็นต์  อาหารใหม่ 100 เปอร์เซ็นต์

เพียงเท่านี้เจ้าชูการ์ไกรเดอร์ก็จะกินอาหารใหม่ได้มากขึ้นแล้วค่ะ

ชูการ์ไกรเดอร์ป่วยมักจะมีลักษณะอาการเช่นนี้

ถ้าชูการ์ไกรเดอร์มีอาการดังต่อไปนี้ อาจจะพบว่าชูการ์ของคุณกำลังป่วยหรือไม่สบาย


  • นอนเป็นเวลานานถึง 16 ชั่วโมงต่อวัน
  • ไม่ยอมออกที่จะออกมาจากที่นอน (จากที่เคยออกมาแล้วเปลี่ยนไป)
  • ไม่ซุกซนเหมือนที่เคย
  • ไม่กินอาหาร
  • อ่อนแอ ขาหลังเดือนลาก
  • หายใจเร็ว หรือถี่ขึ้น
  • ชัก
  • ท้องบวมมากกว่าปกติ
  • ท้องเสีย
  • จุดขาวในตา
เป็นต้น

ถ้าพบเห็นสิ่งเหล่านี้ควรพาไปพบสัตว์แพทย์เฉพาะทางด่วนค่ะ

รายชื่อพืชที่เป็นพิษสำหรับชูการ์ไกรเดอร์

A
  • อะกาเวะ (ใบ)
  • อัลมอนด์ อะโล
  • อะมาริลิส (หัว)
  • อันโดรเมดร้า
  • แอนเนโมเน่ะ สายพันธุ์แองเจิลส์ ทรัมเพ็ท
  • แอปเปิล (เมล็ด)
  • แอปริคอท (ทุกส่วนยกเว้นผล)
  • ดอกลิลลี่สายพันธุ์เอเชีย
  • หน่อไม้ฝรั่ง
  • ถั่วออสเตรเลีย
  • ดอกออทั่ม โครคัส
  • อะโวคาโด (ใบ)
  • ดอกอะชาลี (ใบ)
B
  • ลูกแพร์หอม (เมล็ด และเปลือกนอก)
  • เบนเบอรี่ (ลูกไม้ ราก)
  • ดอกลิลลี่สายพันธุ์บาเบโดส
  • ไม้ดอกบีโกเนีย
  • หมาก
  • ดอกปักษาสวรรค์ (เมล็ด)
  • ลูกเชอรี่ขม (เมล็ด)
  • บิทเทอร์สวีท (สายพันธุ์อเมริกันและสายพันธุ์ยุโรป)
  • ไนท์เชทสีดำ วอลนัทสีดำ (เปลือก)
  • บลัดรูท
  • บลูบอนเนท
  • ไม้ไอวี่สายพันธุ์บอสตัน
  • ไม้สนบุดดิส
  • ดอกบิซี่ลิซซี่
  • ไม้บัทเทอร์คัพ (ใบ)
  • ต้นแบล็คโลคัสท์ (เมล็ด เปลือกไม้ ราก ใบ)
  • อัลแกสีน้ำเงินเขียว (บางชนิดมีพิษ)
  • ไม้บ็อกวูด บลัดรูท (ใบ ก้าน)
  • บลักเค่น เฟิร์น ไอวี่
  • ต้นบัคอาย (เมล็ด)
  • ต้นบัคธอร์น (ลูกไม้ ผลไม้ เปลือกไม้)
  • บลูเนทเทิล บัทเทอร์คัพ (น้ำหล่อเลี้ยง หัว)
C
  • กระบองเพชร ต้นบอนสี (บอนฝรั่ง)
  • คาเลนดูล่า พุ่มไม้คาลิโก ดอกลิลลี่คัลลา (เหง้า ใบ)
  • คาลิดิเออร์ (ใบ)
  • ดอกคาร์เนชั่น
  • คาโลไลน่า เจสมิน
  • ถั่วละหุ่ง (เมล็ด ใบ – น้ำมันละหุ่ง)
  • ซีลาสตรัส เซอริมัน ไม้เถาชาลิส (ทุกส่วน)
  • ต้นเชอรี่ (เปลือกไม้ กิ่ง ใบ เม็ด)
  • ไชน่า ดอล
  • ต้นลูกไม้จีน
  • ดอกเบลฟลาเวอร์สายพันธุ์จีน ไชนีส แลนเทิร์น ไชนีส เอเวอร์กรีน โชกเชอรี่ (เมล็ด)
  • ต้นเทียนคริสต์มาส (น้ำหล่อเลี้ยง)
  • กุหลาบคริสต์มาส
  • ดอกเบญจมาศ
  • ซีนเนอเรเรีย
  • เคลมาตีส
  • มะแว้งเครือ
  • เมล็ดกาแฟ
  • ดอกโคน
  • พืชปะการัง (เมล็ด)
  • คอร์เดทั่ม พืชตระกูลข้าวโพด
  • พืชมีพิษคาวเบน
  • ต้นขจร
  • พืชมีหนามคราวน์ ออฟ ธอร์น
  • กิ่งมะกอกคิวบา
  • ต้นคัคคูไพน์ (ทุกส่วน)
  • คัทลีฟ ฟิโลเดนดรอน
  • พืชพวกปรง
  • ดอกไซคลาเมน
D
  • ดอกดัฟโฟดิล (หัว)
  • ดอกเดซี่
  • ต้นดาฟเน่ (ลูกไม้ เปลือกไม้)
  • ต้นลำโพง (ลูกไม้)
  • ดอกลิลลี่กลางวัน
  • เห็ดระโงกมีพิษ (ทุกส่วน)
  • มะแว้งมีพิษ
  • คามาสแห่งความตาย (ทุกส่วน)
  • ดอกเดลฟีเนี่ยม (ทุกส่วน)
  • เถาวัลย์ปิศาจ เดียฟเฟนบัคเคีย (ใบ)
  • ด็อกเบนมีพิษ
  • ต้นวาสนา
  • ไม้ไผ่ดัมบ์ เคน
  • ต้นดัชแมนบรีซ
E
  • ดอกลิลลี่อีสเตอร์
  • มะเขือยาว (ทุกส่วน เว้น ผล)
  • เอลเดอเบรรี่ (ลูกไม้ที่ยังไม่สุก ราก และก้าน)
  • ต้นหูช้าง (ใบ ก้าน)
  • ขนนกมรกต
  • กิ่งมะกอกอังกฤษ
  • ไม้เถาอังกฤษ (ลูกไม้ ใบ)
  • ต้นยูคาลิปตัส (หลากหลาย)
F
  • ดอกฟอล์ส
  • เฮลเลโบเร่ ฟอล์ส เฮ็นเบน (ทุกส่วน)
  • ผักชีฝรั่ง ฟอล์ส
  • ใบฟิดเดิล
  • พุ่มไม้ฟิค
  • ไฟวีด
  • ต้นฟลามิงโก
  • ดอกฟลอริด้าบิวตี้
  • ดอกเมเปิล
  • ไม้ยาสูบมีดอก
  • ดอกระฆังฟอกซโกลบ (ใบ เมล็ด)
G
  • ต้นการ์เด้นซอร์เรล
  • ดอกเจอเรเนี่ยม
  • ไม้เถาเยอรมัน
  • ต้นโกสท์วีด (ทุกส่วน)
  • ต้นไจแอนท์
  • ทัชมีนอท
  • ไม้เถากลาซิเย่
  • ต้นกลาดิโอล่า
  • ดอกดาวดึงส์
  • ต้นโกลด์ ดัสท์ (ฝุ่นทองคำ)
  • โซ่ทองคำ (ทุกส่วน)
  • พลูด่าง
  • ต้นกรีนโกลด์
H
  • ไม้เถาฮาฮ์น ไม้เถาใบรูปหัวใจ
  • ไม้เถาฮาวายเอียน
  • ต้นไผ่สวรรค์ ผลเฮ็มล็อค
  • เฮ็มล็อคมีพิษ (ทุกส่วน)
  • เฮ็นเบนน้ำ (เมล็ด)
  • ต้นฮอลลี่ฮอกวอร์ท (ลูกไม้)
  • เกาลัด ฮอร์ส (ลูกเกาลัด ก้าน)
  • ไม้เถาฟิโลเดนดรอนหัวม้า
  • ต้นอ้อหางม้า
  • พืชเฮอริเคน
  • ดอกไฮยาซิน (หัว)
  • ดอกไฮเดนเยีย
I
  • ต้นเทียน (ไม้ล้มลุก)
  • ป่านอินเดีย
  • ต้นยางอินเดีย
  • หัวผักกาดอินเดีย (ทุกส่วน)
  • ต้นอิงดิโกสีคราม อิงค์เบอรรี่
  • ดอกไอริส (หัว)
  • ไม้เถาบอสตันและอังกฤษ (ลูกไม้ ใบ)
J
  • แจ็คอินเดอะพูลพิท (ทุกส่วน)
  • ต้นยูโอนิมัส สายพันธุ์ญี่ปุ่น
  • ดอกลิลลี่สายพันธุ์ญี่ปุ่น
  • ต้นมะลิยิวสายพันธุ์ญี่ปุ่น
  • ถั่วชวา (ยังไม่ได้ผ่านการปรุง)
  • ลูกเชอรรี่ เยรูซาเล็ม (ลูกไม้)
  • ต้น เจสมิน หญ้าจิมสัน (ใบ เมล็ด)
  • หญ้าจอห์นสัน
  • ดอกจอนคิลสีเหลือง
  • ต้นสนจูนิเปอร์ (ใบสน ก้าน ลูกไม้)
L
  • ต้นคูน (ทุกส่วน)
  • เฟิร์นลูกไม้
  • ต้นไม้เลื้อยเลซี่
  • ต้นเลดี้สลิปเปอร์
  • ผกากองเลื้อย (ลูกไม้ที่ยังไม่โตเต็มวัย)
  • ต้นลาร์คสเปอร์ (ทุกส่วน)
  • กิ่งมะกอกลอเรล (ทุกส่วน)
  • เชอรรี่กิ่งมะกอกลอเรล
  • ดอกลิลลี่แห่งหุบเขา (ทุกส่วน)
  • ถั่วไลมา (ที่ยังไม่ได้นำมาปรุง)
  • ไม้โลบีเรีย (ทุกส่วน)
  • หญ้าโลโควีด (ทุกส่วน)
  • ไม้ดอกลอร์ด แอนด์เลดี่ส์ (ทุกส่วน)
  • ลูไพน์
M
  • ถั่วแมคคาเดเมีย
  • ต้นมังกรดามากัสการ์
  • ต้นแมนคินีล (มีผลคล้ายแอปเปิล)
  • ต้นมาร์เบลควีน
  • กัญชา (ใบ)
  • ดอกดาวเรือง
  • ดอกลิลลี่โมนาโลอาพีซ
  • ต้นเมแอปเปิล (ทุกส่วน ยกเว้น ผล)
  • หญ้าฝรั่น
  • พืชที่เป็นยา
  • ต้นเมสไควท์
  • ต้นเม็กซิกันเบรดฟรุต
  • ถั่วเมสคัล (เมล็ด)
  • ต้นมิลค์บุช
  • ต้นมิลค์วีด
  • ดอกเมสเซิลโท (ลูกไม้)
  • ผลส้มมอค ออเร้นจ์ (ผล)
  • หญ้ามีพิษมังค์ชูด (ใบ ราก)
  • ดอกมูนฟลาเวอร์ ดอกมอร์นิ่งกลอรี่ (ทุกส่วน)
  • ต้นแม่ยาย กิ่งมะกอกลอเรลภูเขา
  • เห็ด (ไม่มาก)
  • มัสตาร์ด (ราก)
N
  • ต้นนานดิน่า
  • ดอกนาร์ซิสซัส (หัว)
  • ไม้เถาปลายหัวเข็ม
  • ต้นเนฟทิทิส
  • ต้นนิโคเตียน่า
  • ไม้เลื้อยไนท์เชด (ลูกไม้ ใบ)
  • ลูกจันทน์
O
  • ต้นโอ็ค (ผล ใบ)
  • ไม้พุ่มโอลีนเดอร์ (ใบ กิ่ง น้ำหล่อเลี้ยง)
  • ไม้โอซาลิส
P
  • ไม้เถาแพนด้า
  • พาร์เลอร์ หัวไชเท้า
  • ต้นแพเชี่ยน
  • ดอกลิลลี่สันติภาพ
  • ลูกพีช (ใบ ก้าน เมล็ด)
  • ลูกแพร์ (เมล็ด)
  • กระบองเพชรดินสอ
  • ไม้ดอกพีโอนี ต้นพังพวย
  • กระบองเพชรชนิดหนึ่ง
  • ไม้เถาฟิโลเดนดรอน (ใบ ก้าน)
  • ต้นพลัม (เมล็ด)
  • เฟิร์นพลูโมซ่า
  • ดอกพอยเซทเทีย (ใบ ดอก)
  • เฮ็มล็อคมีพิษ
  • ไม้เถามีพิษ
  • ต้นโอ็คมีพิษ
  • ไม้ซัมแมคมีพิษ
  • หญ้าโปควีด
  • ดอกป็อปปี้ มันฝรั่ง (ตา ปลายยอด ส่วนที่เป็นสีเขียว)
  • ถั่วพริแคททอริ
  • ดอกพริมโรส
  • ไม้พริมูล่า
  • ต้นพริเวท (ทุกส่วน)
  • ต้นลำโพงสีม่วง
Q
  • ถั่วควีนสแลนด์
R
  • แรนันคิวลัส
  • ต้นมรกตสีแดง
  • ดอกลิลลี่สีแดง
  • ต้นเรดปริ้นเซส (เจ้าหญิงสีแดง)
  • ไม้พุ่มโรโดเดนดรอน (ทุกส่วน)
  • รูบาร์บ (ใบ)
  • ต้นริบบอน ริพเพิล
  • ไอวี่ ถั่วโรซารี่ (เมล็ด)
  • ดอกลิลลี่รับบลัม
S
  • ลูกพลัมซาโก
  • ต้นหนุมานประสานกาย
  • ไม้เถาแตกกิ่ง
  • ดอกเซนนาบีน
  • ต้นแชมร็อค
  • พลูด่างสีเงิน
  • ใบสกั้ง
  • พืชตระกูลกะหล่ำ (ทุกส่วน)
  • ต้นสเนคพลัม
  • ดอกสโนว์ดรอป (ทุกส่วน)
  • ดอกสโนว์-ออน-เดอะ-เมาเท่น (ทุกส่วน)
  • ต้นโซโลมอนส์ซีล
  • สปินเดิลเบอรรี่
  • ไม้เถาผลิใบ
  • ดอกดวงดาวแห่งเมืองเบธเลเฮ็ม
  • ต้นสทิงวีด
  • ต้นสทริงออฟเพิร์ล
  • ถั่วหวาน (เมล็แ และ ผล)
  • มันฝรั่งหวาน
  • ไม้เถาสวีทฮาร์ท
  • ต้นสวิส ชีส
T
  • ดอกเทนซี่
  • เผือก
  • เถาองุ่น
  • ดอกธอร์นแอปเปิล
  • ดอกลิลลี่ไทเกอร์
  • เห็ดมีพิษโทดสทูล
  • ยาสูบ (ใบ)
  • มะเขือเทศ (ใบ เถา)
  • ต้นฟิโลเดนดรอน
  • ทิวลิป (หัว)
U
  • ต้มอัมเบรลล่า
V
  • ดอกวินก้า
  • ดอกไวโอเล็ท (เมล็ด)
  • ไม้เลื้อเวอจิเนีย (ลูกไม้ น้ำหล่อเลี้ยง)
W
  • ถั่ววอลนัท (เปลือก เปลือกสีเขียว)
  • ผลเฮ็มล็อคน้ำ
  • ต้นตีนตุ๊กแก
  • ดอกลิลลี่ตะวันตก
  • แครอทป่า
  • แตงกวาป่า
  • หัวไชเท้าป่า
  • ถั่วป่า
  • ต้นวิสเทอเรีย (ทุกส่วน)
  • ดอกลิลลี่วูด
  • ดอกกุหลาบวูด
Y
  • มันแกว (ราก ฝักที่ยังไม่โตเต็มวัย)
  • ดอกมะลิสีเหลือง ต้นยิว (ใบเข็ม เมล็ด ลูกไม้)
  • ต้นยัคคะ

โรงพยาบาลและคลินิกเฉพาะทางที่รักษาสัตว์เฉพาะทาง

โรงพยาบาลสัตว์ มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ บางเขน
ตั้งอยู่ด้านถนนพหลโยธิน ใกล้กับกรมส่งเสริมการเกษตร
เลขที่ 50 ถนนพหลโยธิน แขวงลาดยาว เขตจตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0-2942-8756-59 ต่อ 2118 (ในเวลาราชการ)    ต่อ 2155 (นอกวันเวลาราชการ)    ต่อ 2118 ประชาสัมพันธ์
เวลาให้บริการ วันจันทร์ถึงวันพฤหัสบดี 08.30-15.30 น.     วันศุกร์ 08.30-11.00 น.     วันหยุดราชการ 08.30-11.00 น.
บริการตรวจรักษาสัตว์ฉุกเฉินนอกเวลา 18.00-20.00 น.
Website :  http://www.vet.ku.ac.th/bk_animhos/bk_anim_index.htm
.
สัตวแพทย์ 4 โพลีคลินิก (Vet4 Polyclinic)
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.เชาวพันธ์ ยินหาญมิ่งมงคล (หมออ้อย)
เลขที่ 5 – 5/1 ถนน เทศบาลรังสฤษดิ์เหนือ ประชานิเวศน์ 1 จตุจักร กรุงเทพฯ 10900
โทรศัพท์ 0-2953-8085-6, 0-2591-3995   โทรสาร 0-2954-3597
Website : http://www.vet4polyclinic.com
.
โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย
39 ถ.อังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ 10330
โทร.02218 9750-1
Website : http://www.vet.chula.ac.th/~sah/
.
โรงพยาบาลสัตว์ทองหล่อ
เลขที่ 205/5-8 ซอยทองหล่อ (ระหว่างซอย 9 กับ 11) ถนนสุขุมวิท 55 แขวงคลองตันเหนือ เขตวัฒนา กรุงเทพฯ 10110
โทรศัพท์ 02- 712 6301- 4   โทรสาร 02-712 5273 หรือ 02-712 9522
วันและเวลาทำการ: เปิดทำการทุกวัน ตลอด 24 ชั่วโมง
Website : www.thonglorpet.com
.
คลินิกพายุรักษาสัตว์
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.เกษตร สุเตชะ และ น.สพ.พายุ ศรีสุพร
1470 ปากซอยอินทามาระ 26/2 ถนนสุทธิสาร ดินแดง ทม.10320
เปิดทุกวัน 10.00-21.00น.
เบอร์ติดต่อ 0-2693-7972
คุณหมอเกษตร ตรวจรักษาเฉพาะวันจันทร์ – วันพุธ 18:30- 21:00 น.
.
โรงพยาบาลสัตว์คุณหมอปานเทพ คลินิกนกและสัตว์ป่า
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : รศ.น.สพ.ปานเทพ รัตนากร
356/7 ถนนศรีอยุธยา ซอย 3 (ซอยศรีอยุธยา 3 ระหว่างโรงพยาบาลเดชากับโรงพยาบาลพญาไท1) พญาไท กทม.
โทรศัพท์ 02-591-6410, 02-245-4946
วันและเวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ 17.00- 19.00 น. เสาร์ – อาทิตย์ 10.00-16.00 น.
.
โรงพยาบาลสัตว์ขวัญคำ
เลขที่ 91/10 (ก่อนถึงห้าแยกวัชรพล ตรงข้ามร้านอาหารนาย ต. เนื้อตุ๋น) ถนนวัชรพล (รามอินทรา 55) ท่าแร้ง บางเขน กรุงเทพ 10220
โทรศัพท์ 086-336-4462 02-9482627
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน เวลา 9.00 -24.00 น.
Website : http://www.epofclinic.com/wizContent.asp?wizConID=163&txtmMenu_ID=7
.
โรงพยาบาลสัตว์ สุวรรณชาด (ในโครงการพัฒนาส่วนพระองค์)
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.วิศิษฎ์ อาศัยธรรมกุล
เลขที่ 33/39 หมู่ 3 ถนนรามคำแหง กรุงเทพ 10240
โทรศัพท์ 02-729 – 5706-7   โทรสาร 02-729 – 5709
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน เวลา 9.00 -21.00 น.
.
สุขุมวิทสัตวแพทย์
เบอร์โทร 0-2391-9117, 0-2390-2622 เปิดจันทร์-ศุกร์ 8.00-21.00น.
เสาร์-อาทิตย์ 8.00-19.00น.
.
คลินิกสัตวแพทย์ 44
ซอยเสือใหญ่อุทิศ ตรงข้ามกับสยามจัสโก้วังหิน ให้บริการในและนอกสถานที่
เบอร์โทร 0-2570-8929, 081-484-2409
.
ลาดพร้าว 9 สัตวแพทย์
ติดถนนใหญ่   ปากซอยลาดพร้าว 9  ห่างจากคาร์ฟูลาดพร้าว 20 เมตร
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.ณัฐวุฒิ คณาติยานนท์ (หมอกอล์ฟ)  สพ.ญ.นัจพร  แจ่มจันท์ (หมอออย)  น.สพ.เชาวพันธ์  ยินหาญมิ่งมลคล (หมออ้อย)
โทรศัพท์  02-513-5007   มือถือ 087-696-8338
วันและเวลาทำการ  :  ทุกวัน เวลา 10.00 – 21.00 น.
.
เอ็น.เค. สัตว์แพทย์
บางขุนเทียน  กรุงเทพ ฯ
สัตว์แพทย์ผู้ตรวจ :  น.สพ.นำดี  แซ่เฮง
โทรศัพท์ : 02-895-6247
วันและเวลาทำการ  : ทุกวัน  09.00-21.00 น.
.
โรงพยาบาลสัตว์บางนา
เลขที่ 232/2 ถ.บางนา-ตราด  แขวงบางนา  เขตบางนา  กรุงเทพ ฯ
โทรศัพท์ : 02-744-7899 , 02-744-1663
วันและเวลาทำการ  : 24 ชม. ทุกวัน
หมอเฉพาะทางเข้าตรวจ  เฉพาะ  วันพฤหัสบดี  เวลา  17.00 – 21.00 น.
Website : http://www.bphpetcare.com
.
หมอเหนือรักษาสัตว์
ตรวจรักษาสุนัข-แมว
คลินิกสัตว์เลี้ยงชนิดพิเศษ (กระต่าย ชูก้าร์ไกลเดอร์ หนู กระรอก เต่า กิ้งก่า งู ฯลฯ)
ฉีดวัคซีน ผ่าตัด ทำหมัน ตรวจเลือด ขูดหินปูน
อาบน้ำ-ตัดขน ฝากเลี้ยง pet shop
เปิดให้บริการทุกวัน ตั้งแต่ 9.00 น.- 20.00 น.คลินิกอยู่แถวๆลำลูกกาคลองสอง
โทร.02-159-1313

.
ต่างจังหวัด
จังหวัดนครราชสีมา
โรงพยาบาลปากช่อง
สัตว์แพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.วัชรินทร์  หินอ่อน  สพ.ญ.สุณิสา  เอื้อเฟื้อกลาง
ที่อยู่ : เลขที่ 830-11 หน้าที่ว่าการอำเภอปากช่อง  ถ.มิตรภาพ อ.ปากช่อง จ.นครราชสีมา
โทรศัพท์ : 044-316212   มือถือ : 089-8658865  โทรสาร : 044-314594
วันและเวลาทำการ : วันจันทร์ – วันสาร์  08.00 – 20.00 น.   หยุดวันอาทิตย์
Website : www.pakchongpet.com
.
จังหวัดขอนแก่น
โรงพยาบาลสัตว์ คณะสัตวแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยขอนแก่น
เลขที่ 123 ถนนมิตรภาพ อำเภอเมือง จังหวัดขอนแก่น 40002
ภายในมหาวิทยาลัย (ประตู ถนนมิตรภาพ)
วันและเวลาทำการ :  วันจันทร์ – ศุกร์ : เช้า 8.30-12.00 น.  บ่าย 13.00-16.30 น.
คลินิกนอกเวลา วันจันทร์ – ศุกร์ : เวลา 17.00-20.00 น. วันเสาร์-อาทิตย์ : เช้า : เวลา 9.00-12.00 น.  บ่าย : เวลา 13.00-16.00 น. หยุด ทุกวันหยุดนักขัตฤกษ์
เบอร์โทรศัพท์ 043- 364 490,  โทรสาร 043- 343 081
Website : http://vet.kku.ac.th/hospital/vethos.html
.
จังหวัดชลบุรี
คลินิกสัตวแพทย์ 55
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.เดชา พิทักษ์กิ่งทอง
เลขที่ 65 ถ.เจิมจอมพล ต.ศรีราชา อ.ศรีราชา จังหวัดชลบุรี
โทรศัพท์ 038- 770-192
วันและเวลาทำการ : อังคาร – อาทิตย์ เวลา 09.00-20.00 น. (หยุดทุกวันจันทร์)
.
คลีนิคหมอสวนสัตว์
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : สพ.ญ.ดาริกา ทองไทยนันท์
117 ถ.สุขุมวิท ต.แสนสุข อ.เมือง จ.ชลบุรี
โทรศัพท์ 083 – 017 9767
วันและเวลาทำการ : อังคาร-เสาร์ : 17.30-20.30น. อาทิตย์ : 10.30-20.30น.
.
จังหวัดลำปาง
คลินิกเพื่อนรัก
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : สพ.ญ.สกุลแก้ว ยาคำ
เลขที่ 111/5 ถ.พระเจ้าทันใจ ต.ต้นธงชัย อ.เมือง จ.ลำปาง
โทรศัพท์ 054- 312 258
วันและเวลาทำการ : ทุกวัน เวลา 07.30- 21.00 น.
.
คลินิกบ้านรักษาสัตว์
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : นายสัตวแพทย์พงษ์ประสิทธิ์ พงษ์พิจิตร
เลขที่ 43/20 ถ.ท่าคราวน้อย ต.สบตุ๋ย อ.เมือง จ.ลำปาง 52100
โทร. 054-311-110, 08-4040-8630
วันเวลาทำการ จันทร์ – เสาร์ เวลา 09.00 – 19.30 น.
.
จังหวัดเชียงใหม่
โรงพยาบาลสัตว์ เชียงใหม่รักสัตว์
สัตวแพทย์ผู้ตรวจ : สพ.ญ.วีณา ธงซิว
เลขที่ 11/1 ม.4 ต.หนองป่าครั่ง อ.เมือง จ.เชียงใหม่
โทรศัพท์ 053-247-959-60
.
คลินิกสัตว์เลี้ยงพิเศษ โรงพยาบาลสัตว์เล็ก คณะสัตวแพทยศาสตร์ สถานบริการสุขภาพสัตว์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่
ถนนริมคลองชลประทาน ต.สุเทพ อ.เมือง จ.เชียงใหม่ 50200
เบอร์โทรศัพท์ : 053-948 031, 948 033
วันและเวลาทำการ : วันพุธ ทุกสัปดาห์
.
จังหวัดนครศรีธรรมราช
คลีนิกทุ่งสงรักษ์สัตว์
เลขที่ 151 ถ.ทุ่งสง – สุราษฎร์ (ตรงข้ามโรงเรียนสตรีทุ่งสง)  ต.ปากแพรก อ.ทุ่งสง จ.นครศรีธรรมราช
สัตว์แพทย์ผู้ตรวจ : สพ.ย.อรพรรณ  อาจคำภา
โทรศัพท์ : 084-1213654
วันและเวลาทำการ : จันทร์ – ศุกร์ 17.00 – 20.00 น.  เสาร์ – อาทิตย์ 10.00 – 20.00 น.
.
จังหวัดสุราษฎร์ธานี
เลขที่ 18/31 หมู่บ้านมุกธานี 1 ต.ตลาด อ.เมือง จ.สุราฎษร์ธานี
สัตว์แพทย์ผู้ตรวจ : น.สพ.พุทธิพงศ์  ขาวนวล
โทรศัพท์ : 077-222253  มือถือ : 086-5707071
วันและเวลาทำการ : เปิดบริการทุกวัน  เวลา  08.30 – 20.30  ฉุกเฉิน 24 ชม.
.
หมายเหตุ  ข้อมูลมีการเปลี่ยนแปลงหรือไม่ตรงกับปัจจุบันโปรดแจ้งด้วยนะค่ะ

โรคภัยที่พบในชูการ์ไกรเดอร์

โรคที่พบได้บ่อยในชูการ์ก็มีหลายโรคด้วยกัน
ในที่นี้ เราจะช่วยหยิบยก โรคที่พบบ่อยๆ ให้เพื่อนๆได้เข้ามาศึกษากัน รวมไปถึง สาเหตุการเกิด อาการต่างๆ และ วิธีการป้องกันไม่ให้ เจ้าชูการ์ ของเพื่อนๆ เป็นโรคเหล่านี้ได้ สำหรับวันหน้าจะนำข้อมูล มาเพิ่มให้อีก ..

1. โรค Trichomoniasis
สาเหตุ
เป็นโรคที่มีเชื้อแบคทีเรียที่เข้ามาในร่างกาย อันเกิดจากการกินน้ำ หรือ อาหารที่ไม่สะอาด
การแสดงอาการ
น้ำหนักลด อาเจียน ท้องเสีย เบื่ออาหาร มีน้ำมูกและขี้ตา
วิธีป้องกัน
- ควรแยกเค้าไว้และควรให้น้ำอาหารที่สะอาด ดูแลเปลี่ยนน้ำ้ใหม่ทุก ๆ วัน
- ควรล้างมือก่อนเตรียมอาหารให้เค้า
- ล้างมือก่อนและหลังจากที่เล่นกับเค้า
วิธีรักษาเบื้องต้น
ควรไปพบสัตว์แพทย์เพื่อตรวจเพาะเชื้อ ควรระวังตัวอื่นที่เลี้ยงไว้ด้วยอาจจะติดเชื้อโรคเดียวกันกันได้

2. โรค Stress
สาเหตุ
คืออาการเครียดที่เจ้าชูการ์แสดงออกมา เนื่องจากสิ่งแวดล้อมหรืออะไร บางอย่างที่เปลี่ยนแปลงไป อาจเกิดจากความรู้สึกที่ไม่ปลอดภัยหรือสภาพแวดล้อมที่ไม่ปลอดภัย หรือ รู้สึกว่าตัวเองกำลังอยู่ในอันตราย หรือ เกิดจากความเหงา หรือ การสูญเสียคนรักไป หรือ การกินอาหารที่ไม่ถูกต้อง
อาการ
นิสัยการนอนการกินที่เปลี่ยนไป อาจทำตัวเหมือนสติแตก มีอาการอาเจียน ท้องเสีย ดุร้ายอาจปฏิเสธการเข้าสังคมแยกตัวอยู่ต่างหาก
วิธีป้องกัน
- ให้เค้าอยู่ในที่ที่สงบ ไม่มีเสียงดัง เค้าจะได้ไม่ต้องตกใจกลัว
- เล่นกับเค้าบ่อย ๆ ให้กินอาหารที่ดี
- พยายามให้วิ่งออกกำลังกายมากๆ
.
3. โรค Intestinal Blockage
สาเหตุ
เมื่อมีตะกอนหรือเศษอาหารไปอุดตันที่ลำไส้เล็กหรือลำไส้ใหญ่ มักจะเกิดขึ้นเวลาที่ชูการ์ได้กินอาหารที่ย่อยยาก หรือ ดูดซับยาก หรือ มีเศษเมล็ดเข้าไปอยู่ในลำไส้นานเกินไป เป็นสาเหตุทำให้อาหารอื่นๆที่ชูการ์กินเข้าไปติดค้างเพิ่มพูนพอกหนาขึ้น เรื่อยๆ
อาการ
ชูการ์จะเริ่มอ้วนขึ้นโดยเฉพาะช่วงท้องจะบวมขึ้นมา ถ่ายน้อยลงหรืออาจไม่ถ่ายเลย และอาจจะมีอาการอาเจียนร่วมด้วย
วิธีป้องกัน
ไม่ควรให้อาหารแห้ง หรือเนื้อสัตว์ที่ย่อยยาก ควรเลือกอาหารที่ย่อยง่าย
วิธีรักษาเบื้องต้น
ควรพบแพทย์อย่างด่วนเพราะอาจต้องผ่าตัด

4. โรค Hind Leg Pardlysis
สาเหตุ
จะเกิดขึ้นเฉพาะที่ขาหลังของชูการ์ เกิดจากการที่ร่างกายขาดแคลเซียมอย่างรุนแรงทำให้กระดูกไม่มีแรงทำงาน
อาการ
ชูการ์จะเป็นอัมพาต เดินกระเพก กระดูกงอหรือหัก และไม่ค่อยวิ่งหรือแม้แต่ขยับ
วิธีป้องกัน
การเลือกอาหารที่ดีและมีประโยชน์ สำหรับร่างกายของเค้า และควรรู้อัตราส่วนของ Phosphorous ต่อ Calcium เพื่อจะได้ให้แคลเซียมมีมากกว่า Phosphorous
วิธีการรักษาเบื้องต้น
ให้รีบพาไปพบสัตว์แพทย์ เพื่อปรึกษาเรื่องอาหารเสริมวิตามินและแคลเซียม

5. โรค Depression
สาเหตุ
อาจจะเกิดความเหงาของเจ้าตัวชูการ์ หรือเจ้าของไม่เล่นกับเค้า และมีปัญหาทางจิต หรือเมื่อถูกทิ้ง เปลี่ยนที่อยู่ เปลี่ยนเจ้าของ หรือแม้แต่เมื่อมีอาการเจ็บป่วย
อาการ
ชูการ์จะทำตัวซึม ๆ และแยกตัวเองออกจากกลุ่ม อาจแสดงอาการหดหู่ และไม่กินอาหาร ไม่ยอมนอนพัก หวาดระแวงอยู่ตลอดเวลา ขู่ไม่ยอมให้ถูกตัว
วิธีป้องกัน
- แนะนำให้หา เพื่อนให้เค้าให้อยู่รวมกัน อย่าพยายามให้เค้าอยู่ลำพัง
- เอาอาหารที่มีประโยชน์กินแล้วทำให้เค้าแข็งแรงให้เค้ากิน
- สร้างสภาพแวดล้อมที่สดใสให้กับเค้าแล้วสำคัญที่สุดต้องเล่นกับเค้าบ่อย ๆ ต้องให้เค้าแน่ใจว่าคุณรักเค้าจริง
วิธีการรักษาเบื้องต้น
ควรจะดูแลเค้าเป็นพิเศษให้เวลาเล่นกับเค้าให้มากขึ้น
.
6. โรค Dehydration
สาเหตุ
การสูญเสียน้ำเกิดเมื่อร่างกายของเจ้าชูการ์มีน้ำในตัวที่ไม่พอสำหรับร่าง กาย โรคนี้อาจทำให้ตายได้แต่ถ้ารู้ทันก็จะรักษาได้ เกิดจากการที่เค้าท้องเสีย หรืออาเจียน เสียน้ำจากร่างกายโดยทางปัสสาวะเพราะเป็นโรคเบาหวาน ออกกำลังกายโดยไม่ค่อยกินน้ำ หรือน้ำไม่สะอาดพอให้เค้าดื่ม
อาการ
ชูการ์จะแสดงอาการ ตาบวม ๆ ตัวแห้ง หยุดกินอาหาร และซึมไม่มีแรง
วิธีป้องกัน
ควรเปลี่ยนน้ำสะอาดให้เค้าทุกๆ วัน
วิธีรักษาเบื้องต้น
บังคับหยดน้ำโดยใช้ dropper ทุกๆ 15 นาที และควรรีบพาไปพบสัตว์แพทย์
.
7. โรค Constipation
สาเหตุ
คือการขยับตัวของลำไส้ชูการ์ซึ่งจะทำให้ชูก้าร์เจ็บปวดบริเวณท้อง Constipation เกิดจากการขาด Fiber ในอาหาร กินน้ำไม่พอ ใช้ยาแก้ปวด ออกกำลังกายน้อย หดหู่ และการกินที่ไม่ถูกต้อง
อาการ
ชูการ์จะเริ่มร้องเมื่อมีการขยับตัวในลำไส้และมีเลือดออกบริเวณหูรูดเวลาขับถ่ายและถ่ายจะมีลักษณะแข็งมาก
วิธีป้องกัน
- ให้กินอาหารให้ตรงเวลา
- ให้ออกกำลังกายมาก ๆ็ให้กินที่น้ำสะอาด
.
8. โรค Aflatoxicosis
สาเหตุ
เป็นโรคตับที่เกิดจากการกินสาร Aflatoxins ที่เป็นสาร Metabolite ที่เกิดจากเชื้อราที่อยู่บนอาหารที่ชูการ์กิน ผักผลไม้ เช่น ข้าวโพด ถั่ว เมล็ดผลทั้งหลาย Aflatoxins เป็นสารที่ทำให้เกิดโรคมะเร็งเจ้าตัวน้อยก็ติดโรคได้จากจิ้งหรีด และหนอน ถ้าจิ้งหรีดและหนอนกินอาหารที่มีเชื้อ Aflatoxicosis ปนเปื้อนอยู่
อาการ
อาการเบื้องต้นก็คือชูการ์จะไม่ยอมกินอาหารแล้วจะมีอาการปวดท้อง ท้องเสียรุนแรง
วิธีป้องกัน
อาหารที่ให้เค้ากินควรจะสะอาดรวมไปถึงอาหารของพวกหนอนและจิ้งหรีดต้องแน่ใจ ว่า ไม่มีเชื้อนี้เปื้อนปนอยู่ไม่ควรให้ชูก้าร์กินถั่วทุกชนิดเพราะถั่วเป็น เชื้อราง่ายที่สุด
วิธีรักษาเบื้องต้น
เปลี่ยนอาหารอย่างด่วนเพราะถ้าพบว่ามีอาการติดเชื้อนี้จริงชูการ์จะตายภายในไม่กี่ชั่วโมงแนะนำว่าควรรีบพาเค้าไปพบสัตว์แพทย์
.
โรคทั้งหมดที่เห็นอยู่นี้พบได้บ่อยในชูการ์ อยากให้ผู้เลี้ยงได้ศึกษาข้อมูลอย่างละเอียด จะได้ไม่ประมาทตลอดระยะเวลาที่ชูการ์นั้นอยู่กับเราค่ะ


.
ข้อมูลทั้งหมดในเว็บของเรา มีลิขสิทธิ์ หากท่านนำไปใช้งานโปรดแจ้งทางเจ้าของข้อมูล พร้อมลิ้งค์กลับมายังเราด้วยครับ
หากเว็บใดนำข้อมูลของเราไปโดยไม่ใส่ลิ้งค์กลับมาทางเราถือว่าถ่ายไม่ให้ความ เคารพต่อเว็บไซต์เรา thaipetonline.com , ติดต่อเว็บมาสเตอร์ 08-9140-0008

ที่มาของรูป : ขอสงวนลิขสิทธิของเจ้าของบล๊อค

อาหารและผลไม้สำหรับชูการ์ไกรเดอร์

อาหาร
อาหารของ ชูการ์ไกรเดอร์ นั้น ตามธรรมชาตินั้น จะหากินกลางคืนและจะกิน ยางไม้ แมลง และเกสรดอกไม้ต่าง ๆ ได้แยกการกินออกเป็นช่วงอายุดังนี้
อายุตั้งแต่ แรกเกิด – 4 เดือน
อาหารสำหรับชูก้าเด็กนั้นคือ ซีลีแลค นมแพะ เพราะกะเพา่ะชูก้าเด็กยังปรับตัวได้ไม่ดีจึงไม่แนะนำให้ทานอย่างอื่นนอกเหนือจากนี้
อายุตั้งแต่ 4 เดือนขึ้นไป
อาหารสำหรับชูก้าโต จำแนกดังนี้
- ซีลีแลค Carnivorous Care แอสบีแลค  นมแพะ อาหารลูกป้อน เป็นต้น
- ผลไม้ ที่มีรสหวาน เช่น ชมพู่ แตงโม องุ่น ขนุน เงาะ ลำใย ฝรั่ง เป็นต้น
- หนอน แมลง อื่น ๆ เช่น หนอน waxworm ตัวอ่อนผึ้ง จิ้งหรีด เป็นต้น
- เสริม เช่น ยางไม้ เกสรผึ้ง เป็นต้น
ซีลีแลคสูตรเริ่มต้น


หนอนWax

หนอนนก

ข้อห้าม!!!
1. อาหารทอด – พวกนี้ห้ามเลยนะ เพราะน้ำมันนี่มันจะไม่ดีต่อสุขภาพของเค้า
2. สัตว์แปลกๆ – จิ้งจก ตุ๊กแก พวกนี้อันตรายนะ ห้ามเด็ดขาด เพราะในตัวสัตว์พวกนี้มีสารที่เป็นอันตรายต่อชูการ์
3. พืชตระกูลถั่วทุกชนิด เพราะในเมืองไทยอากาศร้อน ถั่วที่เห็น ๆ กันอาจจะมีเชื้อราปะปนอยู่ ไม่ควรนำให้ทาน
4. ขนมคบเคี้ยว เช่น ทาโร่ ขาไก่ มาม่า เป๊ปซี่ ขนมกรอบต่าง ๆ ไม่ควรให้ทาน

ผลไม้ที่เหมาะสมสำหรับชูการ์

ผลไม้ที่สามารถทานได้
ผลไม้ที่มีรสหวาน เช่น ฝรั่ง มะม่วงสุก องุ่นแดง แคนตาลูป แตงโม ชมพู่ อโวกาโด เงาะ ข้าวโพดต้มสุก
ลำใย ขนุน ทุเรียน ผลไม้เหล่านี้ให้ทานได้เป็นกระสัย อย่าให้ทานมากไป
นอกจากเค้าจะทานเนื้อผลไม้แล้วเรายังสามารถให้ทานน้ำผลไม้ได้ด้วย ไม่ว่าจะโดยการคั้นหรือปั่นเองและเป็นแบบกล่อง (ต้อง 100% เท่านั้น) เช่น น้ำผลไม้แท้ 100% ยี่ห้อต่าง ๆ
.
ผลไม้ที่ไม่ควรให้ทาน
ผลไม้ที่มีรสเปรียวทุกชนิด ตระกูลกล้วย ตระกูลส้ม
.
ข้อควรระวัง ในการให้ผลไม้ชูการ์
- ผลไม้แต่ละชนิดควรล้างให้สะอาดเพราะอาจะมีสารเคมีตกค้าง หรือ ควรแช่ด่างทับทิมก่อนแล้วค่อยนำมาให้ชูการ์ทาน
- ควรหั่นผลไม้ออกเป็นชิ้นเล็ก ๆ จะทำให้เค้าทานได้ง่ายขึ้น
- ผลไม้บางชนิดมียาง ให้ระวังยางของผลไม้ด้วย
- ควรปลอกเอาแต่เนื้อของผลไม้ ไม่ควรนำให้กิืนทั้งเปลือก
ข้อมูลทั้งหมดในเว็บของเรา มีลิขสิทธิ์ หากท่านนำไปใช้งานโปรดแจ้งทางเจ้าของข้อมูล พร้อมลิ้งค์กลับมายังเราด้วยครับ
หากเว็บใดนำข้อมูลของเราไปโดยไม่ใส่ลิ้งค์กลับมาทางเราถือว่าถ่ายไม่ให้ความ เคารพต่อเว็บไซต์เรา thaipetonline.com , ติดต่อเว็บมาสเตอร์ 08-9140-0008

เรียบเรียงโดย : www.thaipetonline.com
ที่มาของรูป : ขอสงวนลิขสิทธิของเจ้าของบล๊อค

การสืบพันธุ์ของชูการ์


การสืบพันธุ์
ในช่วง ระหว่างเดือน มิถุนายน ถึง เดือน พฤศจิกายน จะเข้าสู่ช่วงฤดูผสมพันธุ์ โดยตัวผู้หนึ่งตัวสามารถผสมกับตัวเมียได้หลายตัว ชูการ์จะใช้ระยะเวลาในการทั้งท้อง ประมาณ 16 วัน ถึง 21 วัน เมื่อคลอดลูกออกมาแล้วลูกจะคลานเข้าสู่กระเป๋าหน้าท้องของแม่
เมื่อชูการ์คลอดลูกออกมาแล้วลูกชูการ์เกิด ใหม่จะกินนมแม่ที่อยู่ในกระเ๋ป๋าจนโต และแม่จะคอยถนุดถนอมลูกน้อยอย่างระมัดระวัง ในช่วงนี้ควรจะมีอาหารบำรุงแม่ชูการ์เผื่อเค้าจะได้มีน้ำนมไว้ให้ลูกน้อย และไม่ควรไปยุ่งกับลูกน้อยมากเกินไป เพราะอาจจะทำให้แม่ลืมกลิ่น หรือ เครียด อาจจะทำร้ายลูกได้


และต่อมาไม่นาน เมื่อชูการ์มีอายุประมาณ 2 เดือน แม่จะเริ่มทิ้งลูกไว้ในรังนอน เผื่อออกไปหาอาหาร และ เมื่อชูการ์ตัวน้อยมีอายุ 2.5 เดือนเค้าจะเริ่มลืมตา และหย่านม นั่นก็หมายถึงเค้าพร้อมที่จะแยกกับแม่ได้แล้ว

คลิปการผสมพันธุ์ชูก้าไกลเดอร์คะ ><"





เรียบเรียงโดย : www.thaipetonline.com 
ข้อมูลทั้งหมดในเว็บของเรา มีลิขสิทธิ์ หากท่านนำไปใช้งานโปรดแจ้งทางเจ้าของข้อมูล 
พร้อมลิ้งค์กลับมายังเราด้วยครับ
หากเว็บใดนำข้อมูลของเราไปโดยไม่ใส่ลิ้งค์กลับมาทางเราถือว่าถ่ายไม่ให้ความ เคารพต่อเว็บไซต์เรา thaipetonline.com , ติดต่อเว็บมาสเตอร์ 08-9140-0008
ที่มาของรูป : ขอสงวนลิขสิทธิของเจ้าของบล๊อค

การดูเพศชูการ์ไกรเดอร์

ตัวเมีย
จะมีกระเป๋าที่ หน้าท้อง ตอนที่อายุน้อยจะสามารถสังเกตเห็นได้ชัดเพราะขนยังขึ้นไม่เต็มที่ และเมื่ออายุโตขึ้นจะสังเกตเห็นได้ยากเพราะขนจะขึ้นปรกคลุมบริเวณนั้น


ตัวผู้
จะมีลูกอัณฑะ อยู่บริเวณหน้าที่ (ตำแหน่งเดียวกับกระเ๋ป๋าหน้าท้องของตัวเมีย) และลงมาจะเป็นอวัยวะเพศจะมีลักษณะเป็นเส้น 2 เส้น จะหดอยู่อยู่ในบริเวณทวารหนัก เมื่อโตขึ้นจะสังเกตเห็นได้อย่างชัดเจน เพราะตัวผู้มักจะเอาออกมาทำความสะอาดอยู่บ่อย ๆ



ข้อมูลทั้งหมดในเว็บของเรา มีลิขสิทธิ์ หากท่านนำไปใช้งานโปรดแจ้งทางเจ้าของข้อมูล พร้อมลิ้งค์กลับมายังเราด้วยครับ
หากเว็บใดนำข้อมูลของเราไปโดยไม่ใส่ลิ้งค์กลับมาทางเราถือว่าถ่ายไม่ให้ความ เคารพต่อเว็บไซต์เรา thaipetonline.com , ติดต่อเว็บมาสเตอร์ 08-9140-0008

ขอสงวนสิทธิรูปภาพต่างๆ .. ของเจ้าของบล๊อคคะ

กรงและที่อยู่อาศัยของชูการ์

ที่อยู่อาศัย
เพื่อให้มีพื้นที่ในการออกกำลังกาย กรงที่มีขนาดเล็กมากที่สุด ควรมีขนาด 96×31x91 cm. เพื่อให้ใกล้เคียงกับธรรมชาติมากที่สุดครับ และรอบกรงควรเป็นตาข่าย สามารถระบายอากาศได้ดี

ในกรงควรประกอบด้่วย ถ้วยอาหาร ขวดน้ำ ลัง กล่อง หรือ บ้าน ไว้สำหรับหลบอาศัยที่ให้ความรู้สึกที่ปลอดภัย ควรแขวนไว้ที่สูง และควรอยู่ในที่ประจำ ทำความสะอาดและเปลี่ยนที่รองนอนทุก 1-2 สัปดาห์ หรืออาจมากกว่านั้น และในกรงควรจะมีขอนไม้ หรือ กิ่งไม้ สำหรับปืนป่าย และยังช่วยในการลับฟันเค้าได้อีกด้วย ขอนไม้ควรจะมีลักษณะ เป็นของจริงจากธรรมชาติ ไม่มีส่วนผสมของสารเคมี หรือ สารตกค้างใด ๆ ให้นำกิ่งไม้มาล้างให้สะอาดและนำไปตากแดดให้แห้ง จึงนำมาใส่เข้ากรง .
อุณหภูมิ สำหรับชูการ์ โดยปกติแล้ว ชูการ์ไกรเดอร์จะไม่ชอบอากาศที่หนาวสักเท่าไหร่นักคะ ซึ่งอากาศในประเทศไทย ถือว่าเหมาะสมในการเลี้ยง เจ้าชูการ์ได้อย่างสบาย  ถ้าให้แนะนำสำหรับฉันคิดว่าควรให้เขาอยู่ได้เหมือนคนอยู่คะ ก็คือที่ใหนอุณหภูมิเราอยู่ได้ไม่ร้อนเกินไป เจ้าชูการ์ก็สามารถอยู่ได้เช่นกันคะ และ ก็อย่าเย็นมากไปนะค่ะ เค้าอาจจะตายเพราะอากาศหนาวได้ครับ
ซึ่งจากข้อมูลที่มี เจ้าชูการ์ จะชอบ อุณหภูมิประมาณ 18-31 องศาเซลเซียส ครับ แต่อย่างไรดิฉันว่าอย่าให้ถึง 18 เลยนะคะ ดิฉันว่าคงหนาวไป
ข้อมูลทั้งหมดในเว็บของเรา มีลิขสิทธิ์ หากท่านนำไปใช้งานโปรดแจ้งทางเจ้าของข้อมูล พร้อมลิ้งค์กลับมายังเราด้วยครับ
หากเว็บใดนำข้อมูลของเราไปโดยไม่ใส่ลิ้งค์กลับมาทางเราถือว่าถ่ายไม่ให้ความ เคารพต่อเว็บไซต์เรา thaipetonline.com , ติดต่อเว็บมาสเตอร์ 08-9140-0008

เรียบเรียงโดย : www.thaipetonline.com

นิสัยของชูการ์ไกรเดอร์

มาดูนิสัยของชูการ์กันก่อนนะ เราจะแบ่งนิสัยออกเป็นช่วงอายุ ดัีงนี้
.
นิสัยโดยรวม ลักษณะนิสัยของชูการ์ พวกนี้คือ ขี้เล่น ซุกซน ชอบกัดแทะ (เป็นบางตัว) ชอบปีนป่าย ชอบอยู่รวมกลุ่มกัน ขี้อ้อน ขี้ตกใจ และที่สำคัญที่สุดที่ทุกตัวต้องเป็นคือ “ขี้เซา



– ในชูการ์เด็กคือ อายุน้อยกว่า 4 เดือน
จะมีอาการกลัวง่าย ทำอะไรเสียงดังหน่อยเค้าจะตกใจ และถ้าตกใจแล้วเค้าก็จะยกขาหน้าขึ้นมา 2 ขา พร้อมร้องเสียงเหมือนเด็กร้องไห้ การกระทำนี้เราเรียกกันว่า “ขู่” ในชูการ์บางตัวอาจจะมีการพุ่งชนหรือเราเรียกกันว่า “ฉก” ด้วย และชูการ์ในวัยเด็กเกือบทุกตัวมักจะนอนตลอดวัน ตื่นเฉพาะตอนกินเท่านั้น
– ส่วนในชูการ์ อายุประมาณ 5-8 เดือน
ก็จะมีการวิ่งเล่นและชอบปีนป่าย ซุกซน ขึ้นไปยังที่สูง ๆ เช่น ผ้าม่าน ต้นไม้ ประตู เป็นต้น ในชูการ์ตัวผู้จะมีการทำเครื่องหมายแสดงอาณาเขตของตนเอง มีลักษณะคล้ายฉี่ แต่ไม่ใช่ ส่วนใหญ่เค้าจะทำเครื่องหมายกับเจ้าของและในพื้นที่ของเค้า เพื่อแสดงให้รู้ว่าเค้าเป็นเจ้าของ และในกรณีที่เลี้ยงรวมกันหลายๆตัว เค้าก็เริ่มเข้าไปอยู่รวมกลุ่มกัน ทำอะไรก็ทำคล้ายๆกัน เล่นเหมือน ๆ กัน เพราะเค้าคือสัตว์สังคม
.
– ชูการ์ที่โตเต็มวัย อายุประมาณ 1 ปีขึ้นไป
จะวิ่งเล่นน้อยลง แต่จะกินอาหารมากขึ้น ซึ่งตรงนี้คนเลี้ยงก็ต้องคอยระวังดูแลสุขภาพของเจ้าตัวน้อย ไม่ให้อ้วนจนเกินไป เพราะอาจทำให้เกิดปัญหาสุขภาพตามมาในภายหลังได้ ข้อมูลทั้งหมดในเว็บของเรา มีลิขสิทธิ์ หากท่านนำไปใช้งานโปรดแจ้งทางเจ้าของข้อมูล พร้อมลิ้งค์กลับมายังเราด้วยครับ
หากเว็บใดนำข้อมูลของเราไปโดยไม่ใส่ลิ้งค์กลับมาทางเราถือว่าถ่ายไม่ให้ความ เคารพต่อเว็บไซต์เรา thaipetonline.com , ติดต่อเว็บมาสเตอร์ 08-9140-0008

เรียบเรียงโดย : www.thaipetonline.com

ศึกษาถึงข้อดี-ข้อเสียก่อน ตัดสิ้นใจเลี้ยง

มาดูข้อดีกัน
- เป็นสัตว์ที่ชอบเช้าสังคมอยู่รวมกันเป็นกลุ่มนั้นรวมถึงอยู่รวมกับเจ้าของด้วย ชูการ์ จะจำทั้งกลิ่นและเสียงของเจ้าของได้ดีทีเดียว
.
- เมื่อคุ้นกับคุณแล้วจะสร้างความไว้เนื้อเชื่อใจกับเจ้าของ จะไม่กัด และไม่ขู่ หรือ เรียกว่้าเชื่องนั่นเอง
.
- ชูก้าร์ เป็นสัตว์ที่ชอบซุกตัว ขดตัวอยู่ในที่แคบซึ่งดีที่สุดน่าจะเป็นกระเป๋า ถุงนอน
ชูการ์ มีวงจรชีวิตค่อนข้างยาว ถ้าเจ้าของดูแล รัก เอาใจใส่ ชูการ์ เป็นอย่างดี เค้าจะอยู่กับเรานานกว่าสัตว์เลี้ยงอีกหลายชนิด
.
เมื่อมีข้อดีกันแล้วก็ดูข้อเสียบ้าง
- ชูการ์ ไม่สามารถจะถูกฝึกให้ขับถ่ายเป็นที่ แล้วเค้ายังจะวิ่งไปทำเครื่องหมายไปทั่ว (คล้ายกับฉี่ จะเห็นชัดในชูการ์ตัวผู้) ต้องคอยตามเช็ด อาจจะสร้างความรำคาญและเบื่อหน่ายกับเจ้าของได้
.
- ชูการ์ มีอายุยืนยาวประมาณ 10-15 ปี หรืออาจจะมากกว่านั้น ฉะนั้นถ้าคิดจะเริ่มเลี้ยงแล้วตัดสินใจเลิกกลางคันจะเป็นการทำร้ายจิตใจของ เค้า เป็นอย่างมากเพราะเค้าเป็นสัตว์ที่รักเจ้าของและก็รักคนเดียวเท่านั้น ซึ่ง การโยกย้ายทั้งที่อยู่และเจ้าของเป็นความเหนื่อยยากและเป็นความเครียดที่ฝัง ใจ ชูการ์ และมีผลต่อนิสัยการแสดงออกของชูก้าร์ด้วย เคยมีบันทึกเกี่ยวกับ ชูการ์ ที่ตรอมใจตายเนื่องจากการเปลี่ยนเจ้าของ
- ชูการ์ เป็นสัตว์กลางคืน ถ้าไม่พร้อมที่จะถ่างตาอยู่รอเล่นกับเค้าในเวลาที่เค้าตื่น ถ้าคุณนอนดึกไม่ได้ก็เปลี่ยนใจไปเลี้ยงสัตว์ชนิดอื่น เพราะตอนกลางคืนเค้าจะร้องเรียกเจ้าของออกมาเล่นด้วยเป็นประจำ - ชูการ์จะเปล่งเสียงออกมาคล้าย ๆ กับลูกสุนัขเห่า หรือ เรียกว่า กา่รเห่านั่นเอง  ในช่วงเวลาที่เรากำลังหลับสบาย แต่ชูการ์เค้าไม่ได้หลับกับเราด้วย ช่วงประมาณ ตี 1-3 จะเป็นช่วงเวลาที่เค้าคึกมากที่สุด อาจจะมีการเล่นเสียงดังหรือ ส่งเสียงดัง หรือ เห่า เรีัยก ถ้าไม่สามารถอดทนสำหรับข้อนี้ได้ก็ไม่ควรเลี้ยง เพราะห้ามและฝึกไม่ได้
.
- ชูการ์ ชอบกินแมลงหากไม่สามารถจับหนอน จิ้งหรีด แมลงปีกแข็งอื่น ต้องเปลี่ยนใจไปเลี้ยงอย่างอื่นแทน เพราะแมลงเหล่านี้เป็นแหล่งพลังงาน โปรตีนที่เป็นมากที่สุดสำหรับชูการ์
- ชูการ์ เป็นสัตว์ที่เอาแต่ใจ ไม่ชอบการบังคับ ห้ามก็ไม่ฟัง พูดก็ไม่รู้เรื่อง ถ้าขัดใจหล่ะก็เป็นกัดแน่นอน
.
- ชูการ์ มีกระดูกที่บางและเล็ก ฉะนั้น เค้าจึงไม่ชอบที่จะถูกกอดหรือจับต้องแรง ๆ ฉะนั้น ไม่แนะนำสัตว์เลี้ยงประเภทนี้ให้กับเด็กที่มีอายุต่ำกว่า 15 ปีค่ะ
- ชูการ์เป็นสัตว์ที่มีกลิ่นแรง โดยเฉพาะตัวผู้ เค้าจะต้องใช้กลิ่นในการสร้างอาณาเขต คนที่คิดจะเลี้ยงจะต้องทบทวนดูให้ดีว่าจะรับข้อเสียเค้าได้หรือไม่
.
ข้อมูลทั้งหมดในเว็บของเรา มีลิขสิทธิ์ หากท่านนำไปใช้งานโปรดแจ้งทางเจ้าของข้อมูล พร้อมลิ้งค์กลับมายังเราด้วยครับ
หากเว็บใดนำข้อมูลของเราไปโดยไม่ใส่ลิ้งค์กลับมาทางเราถือว่าถ่ายไม่ให้ความ เคารพต่อเว็บไซต์เรา thaipetonline.com , ติดต่อเว็บมาสเตอร์ 08-9140-0008

เรียบเรียงโดย : www.thaipetonline.com

2554-03-15

สัตว์เลี้ยงขึ้นชื่อ Sugar Glider

SCIENTIFIC NAME
ชื่อทางวิทยาศาสตร์: Petaurus Breviceps
COMMON NAME
ชื่อสามัญ: Sugar Glider
INTRODUCTION
มาทำความรู้จักชูการ์ไกรเดอร์กันก่อนนะคะ
ชูการ์ไกรเดอร์ หรือ ที่เมืองไทยเรียกกันว่า กระรอกบินออสเตรเลีย หรือ จิงโจ้บิน ซึ่ง ตรงส่วนนี้ต้องทำความเข้าใจกันก่อนนะครับ ชูการ์นั้นไม่ใช่กระรอกบิน นะคับ แต่เพียงมีลักษณะที่คล้ายๆกันเพียงเท่านั้น ชูการ์ไกรเดอร์เป็นสัตว์ที่จัดอยู่ในตระกูล จิงโจ้ ( marsupials ) เพราะชูการ์ไกรเดอร์เพศเมียจะมีกระเป๋าหน้าท้อง ( pouch ) ซึ่งเหมือนเจ้าจิงโจ้
โดยนิสัยปกติแล้ว ชูการ์ไกรเดอร์ เป็นสัตว์ตื่นกลางคืน นอนกลางวัน ( nocturnal ) ครับ ซึ่งในเวลากลางคืนนั้น จะออกหาอาหาร และ ออกมาวิ่งเล่น ครับ ขนาดของ ชูการ์ โตเต็มที่ความยาวจากจมูกถึงปลายหางก็จะอยู่ที่ 11นิ้วโดยประมาณครับโดยในส่วนนี้ก็ต้องขึ้น
อยู่กับความสมบูรณ์ในการเลี้ยงดูด้วย

ชูการ์เป็นสัตว์ ที่ชอบอยู่รวมกันเป็นฝูงตั้งแต่ 6-10 ตัวขึ้นไป และแต่ละฝูงจะมีการกำหนดอาณาเขตของตัวเองอย่างชัดเจน ซึ่งตัวผู้ที่เป็นจ่าฝูงจะมีการปล่อยกลิ่น เืพื่อกำหนดอาณาเขตของตนเองอายุโดยเฉลี่ย 10-15 ปีคะ แต่ในปัจจุบันนี้การเลี้ยงดูค่อนข้างมีปัญหาเข้ามาหลายๆอย่างจากผู้เลี้ยง ที่ ขาดความรู้ในการเลี้ยงดูและการผสมพันธุ์ที่เน้นแต่ผลประโยชน์ทางการค้า มากกว่าความรัก ในตัวของชูการ์ จึงทำให้อายุขัยของเจ้าชูการ์นั้นด้อยลงไปมากขึ้นทุกๆวัน
ซึ่งในตามธรรมชาติ แล้วนั้น ชูการ์ไกรเดอร์จะอาศัยอยู่บนต้นไม้ ดังนั้นธรรมชาติจึงสร้างกรงเล็บอันแหลมคมให้มันเพื่อใช้เกาะเวลามันกระโดด ข้ามจากต้น ไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่งได้อย่างง่ายดาย
ในอเมริกานิยมเลี้ยง ชูการ์ไกรเดอร์ เป็นสัตว์ เลี้ยงเอามากๆครับ ชูการ์ไกรเดอร์ มีอยู่ประมาณเกือบ 10 สี ครับ แต่ในเมืองไทยแล้วนั้น ตอนนี้ น่าจะมีแค่สีเดียวก็คือสีเทาครับ ขนเจ้าชูการ์ไกรเดอร์ จะมีลักษณะนุ่มมากๆ บริเวณข้างลำตัวของมันจะมี พังผืด ( patagium ) ซึ่งสามารถกางได้จากขาหน้าไปถึงขาหลังเพื่อลู่ลมเวลามัน ร่อน คะ
ที่บางคนว่ามันสามารถบินได้ ที่จริงแล้ว
ไม่สามารถบินได้เหมือนนกคับ แต่ความเป็นจริงคือ มันจะใช้การร่อน สะมากกว่าครับ คือจะร่อนจากที่สูงลงสู่ที่ต่ำครับ โดยใช้พังผืดเนี่ยแหละ ร่อนคะ หวังว่าสมาชิกคงจะหายข้องใจกับ การบิน หรือ การร่อน ของมันแล้วนะคะ
ข้อมูลทั้งหมดในเว็บของเรา มีลิขสิทธิ์ หากท่านนำไปใช้งานโปรดแจ้งทางเจ้าของข้อมูล พร้อมลิ้งค์กลับมายังเราด้วยครับ
หากเว็บใดนำข้อมูลของเราไปโดยไม่ใส่ลิ้งค์กลับมาทางเราถือว่าถ่ายไม่ให้ความ เคารพต่อเว็บไซต์เรา thaipetonline.com , ติดต่อเว็บมาสเตอร์ 08-9140-0008

เรียบเรียงโดย : www.thaipetonline.com